เมนู

มุสาวาทครุลหุภาวปัญหา ที่ 9


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภุมินทรมีพระราชโองการประภาษถามอีกเล่าว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า ภาสิตํ เจตํ ภควตา สมเด็จพระมหากรุณาธิคุณอดุลยโลกา-
จารย์ญาณสัพพัญญูเจ้า มีพระพุทธฎีกาว่า สัมปชานมุสาวกนี้ถ้าต้องแล้ว ก็เรียกว่าอาบัติ
ปาราชิก ตรัสฉะนี้แล้ว ปุน จ ภณิตํ นานมาครั้งหนึ่งเล่า สมเด็จพระพุทธองค์เจ้ามีพระพุทธ-
ฎีกากลับเสียว่า สัมปชานมุสาวาทนี้เป็นแต่ลหุกาบัติดอก หาเป็นอาบัติปาราชิกไม่ เป็นสเตกิจ
ฉาพอเยียวพอยาพอจะเทศนาบัติแก่พระภิกษุองค์ใดองค์หนึ่งได้ นี่แหละโยมพินิจพิเคราะห์ไป
เห็นอยู่ว่า พระพุทธฎีกาทั้งสองนี้ไม่ต้องกัน จะเชื่อคำก่อนนั้นเล่า คำภายหลังของพระองค์เจ้าก็
จะผิด ครั้นจะเชื่อคำภายหลัง คำก่อนนั้นก็ผิด อยํ ปญฺโห อันว่าปริศนานี้ อุภโต โกฏิโก มีเงื่อน
เป็นสองไม่ต้องกัน โยมนี้พิเคราะห์ดูปัญหานี้ให้สงสัยนักหนา นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาให้
แจ้งในกาลบัดนี้
พระนาคเสนเถรเจ้าจึงถวายพระพรวิสัชนาว่า ภาสิตํ เจตํ มหาราช ขอถวาย
พระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ สมเด็จพระมหากรุณาเจ้ามีพระพุทธฎีกาตรัสว่า
สัมปชานุสาวาทนี้ ถ้าภิกษุต้องแล้วก็เป็นปาราชิก ครั้นแล้วพระองค์บัญญัติอีกว่า สัมปชา-
นมุสาวาทนี้เป็นแต่ลหุกาบัติ พอเยียวยาพอจะเทศนาบัติได้ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า
ตรัสบัญญัติตามวัตถุหนักวัตถุเบา ถ้าวัตถุหนักก็เป็นปาราชิก ถ้าวัตถุเบาก็เป็นแต่ลหุกาบัติ
ตํ กึ มญฺญสิ มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ทรงเข้าพระทัยอย่างไร ใช่
กระนั้นพระพุทธฎีกานี้ตรัสเป็นสองสถาน จะรู้อาการโดยอุปมา เปรียบดุจหนึ่งว่า บุรุษคนหนึ่ง
มาประหารบพิตรพระราชสมภารด้วยมือ บุรุษผู้หนึ่งประหารคนอื่นอันเป็นไพร่บ้านพลเมือง
ด้วยมือ คนที่ประหาร 2 คนนี้โทษเหมือนกันหรือประการใด
ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่
พระผู้เจ้า บุรุษทั้ง 2 นั้นมีโทษต่างกัน คือบุรุษที่ประหารเขาอื่นนั้นโทษเป็นแต่ต้องปรับไหม
แต่บุรุษที่ประหารโยมเข้าด้วยมือนั้นต้องมหันตโทษทารุณร้ายกาจ ในพระราชกำหนดบทนั้น
สาหัสสากรรจ์นักหนา หตฺถปาทจฺเฉทํ กตฺวา ให้ตัดตีนสินมือ สพฺพเคหํ วิลุมฺเปยฺย ให้ริบรื้อ
สมบัติบ้านเรือนป็นเรือนหลวง และของทั้งปวงก็ริบเข้าท้องพระคลัง อุภโต ปกฺเข ยาว สตฺตกุลํ
ให้ฆ่าเสียซึ่งญาติของบุรุษผู้นั้น ฝ่ายบิดาเจ็ดชั่วโคตร ฝ่ายมารดาเจ็ดชั่วโคตร กับทั้งบุรุษผู้นั้น
นี่แหละประหารด้วยมือเหมือนกันก็จริงแล แต่ทว่าโทษมากกว่ากัน ไม่เหมือนกัน
ขณะนั้นพระนาคเสนจึงถามว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร บุรุษ
ทั้ง 2 นี้ประหารด้วยมือด้วยกัน ก็ไฉนโทษจึงไม่เหมือนกัน

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์จึงตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ไม่เหมือนกันด้วยลงโทษนั้น
ตามบรรดาศักดิ์ และหาบรรดาศักดิ์มิได้
พระนาคเสนจึงถวายพระพรไปว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ซึ่งว่าสัมปชานมุสาวาทนั้นก็เหมือนกัน สมเด็จพระสัพพัญญูตรัสโปรดไว้ตามวัตถุเบาและ
หนักเหมือนหนึ่งความที่เปรียบนี้ พระภิกษุรูปใดเจรจาเป็นสัมปชานมุสาวาท ลวงล่อให้เขาเสีย
ทรัพย์ให้เขาฉิบหายตายด้วยวาจาสัมปชานมุสาวาท นี้เป็นอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ใดกล่าว
สัมปขานมุสาวาท มิได้มีอธิบายจะให้เขาฉิบหายอันตรายอันใดอันหนึ่ง พระภิกษุนั้นต้องแต่ลหุ-
กาบัติเบา นี่แหละพระพุทธฎีกาของสมเด็จพระสัพพัญญูเข้าจะได้เป็นสองหามิได้ บพิตรจง
เข้าพระทัยด้วยประการดังนี้
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีได้ทรงสดับ ก็สิ้นสงสัยตรัสสรรเสริญว่า สาธุ พระผู้เป็น
เจ้าวิสัชนาถูกต้องแล้ว โยมจะรับไว้ตามนัยที่พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้ทุกประการ
มุสาวาทครุลหุภาวปัญหา คำรบ 9 จบเพียงนี้

ยาจโยคปัญหา ที่ 10


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นสาคลราชธานี มีพระราชปุจฉาถามอรรถปัญหาแก่พระ
นาคเสนสืบไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ สมเด็จพระมงกุฏาจารย์มีพระ
พุทธฎีกาตรัสว่า อหมสฺมิ ภิกฺขเว พฺราหฺมโณ ดูรานะภิกษุสงฆ์ทั้งปวง ตถาคตนี้เป็นพราหมณ์
ยาจโยโค ผู้ควรอันยาจกพึงขอ ปิยตฺตปาณี ล้างมือไว้คอยจะหยิบทานแจกจ่ายแก่ยาจก
ทั้งหลายทุกเมื่อ อนฺติมเทหธโร ทรงไว้ซึ่งพระบวรกายเป็นอันติมะมีที่สุด คือมิได้เวียนว่าย
ตายเกิดเป็นรูปเป็นกายต่อไป อนุตฺตโร เป็นผู้ยิ่งหาใครผู้ใดจะเปรียบมิได้ สมเด็จพระบรมไตร
โลกนาถประภาษไว้ดังนี้ นานมา ภควตา ภณิตํ กลับมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุ
สงฆ์ทั้งปวง อปฺปาพาธานํ แต่บรรดาสาวกของเราที่มีอาพาธน้อยนั้น พระพากุลเถระนี้มี
อาพาธความเจ็บน้อยยิ่งกว่าคนทั้งปวง พระพากุลเถรเจ้านี้ยกประเสริฐดังนี้ ก็และพระองค์เองก็
ได้ประชวรพระโรคพาธถึงสี่ครั้ง แล้วพระองค์ยกพระองค์ว่า หาผู้ใดจะประเสริฐเปรียบปานมิได้
ภายหลังกลับมายกยอพระพากุลเถระว่า เป็นเอตทัคคะมีอาพาธน้อยไม่เจ็บไข้เป็นอย่างยอดใน
หมู่สาวกของพระองค์ พระพุทธฎีกาทั้ง 2 นี้ไม่ต้องกัน พระองค์ประชวรถึงสี่ครั้งและยก